วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ของดีที่14หมู่บ้านมีดอรัญญิก

ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้านอรัญญิก ตั้งอยู่หมู่ที่  6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แท้จริงแล้วหมู่บ้านอรัญญิกมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่สองหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านต้นโพธิ์ และบ้านหนองไผ่ ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเป็นเเหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี

ย้อนกลับไปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวบ้านต้นโพธิ์และชาวบ้านไผ่หนอง  รกรากถิ่นฐานเป็นชาวเวียงจันทน์   ประเทศลาว ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยซึ่งชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทางช่าง มีช่างทำเครื่องประดับทองกับช่างตีเหล็กซึ่งเน้นตีมีด  ครั้นต่อมาในราวพ.ศ.2365 อาชีพช่างทองก็ได้เลิกลาสลายตัวไป คงเหลือเเต่อาชีพตีมีดประเภทเดียว ชาวบ้านจึงยึดอาชีพตีมีดเป็นอาชีพหลัก ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นปะปนเลย

ส่วนที่มาของคำว่า มีดอรัญญิกนั้น ในสมัยก่อนมีตลาดร้านค้า มีโรงบ่อน อยู่ที่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านต้นโพธิ์เเละหมู่บ้านไผ่หนองมากนัก ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร มีผู้คนนำสินค้ามาซื้อขายเเลกเปลี่ยนกันมากในยุคนั้นชาวบ้านก็นำเอามีดไปขาย เมื่อคนที่ซื้อไปใช้เห็นว่าคุณภาพดีจึงบอกต่อๆกันไปว่ามีดคุณภาพต้องมีดอรัญญิก เลยเรียกติดปากไปหาซื้อมีดต้องไปที่อรัญญิก ที่จริงเเล้วทำที่หมู่บ้านต้นโพธิ์ หมู่บ้านไผ่หนองเเละหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า มีดอรัญญิก

ปัจจุบัน มีดอรัญญิกยังคงเป็นความภาคภูมิใจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะมีดอรัญญิกนั้นขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแรงทนทาน มีดบางชนิดสามารถใช้ได้นานตลอดชั่วอายุคน อีกทั้งงานใบมีดยังสวยงามประณีต นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


ณ หมู่บ้านอรัญญิก นักท่องเที่ยวสามารถเข้าพักโฮมสเตย์ภายในท้องถิ่น ชมหัตถกรรมการตีมีด และลองลงมือตีมีดด้วยตนเอง พร้อมเลือกซื้อมีดคุณภาพกลับไปเป็นที่ระลึก




ของดีที่13 วัดหนองแห้ว(จุดจบเสือใบ)

เป็นวัดที่เก่าแก่ของอำเภอท่าเรือ ตรงมุมวัดด้านทิศเหนือ มุมติดถนนรถไฟ เมื่ออดีตเป็นที่ประหารชีวิต คนร้ายปล้นตลาดท่าเรือ เสือขาวกับพวก ขณะนั้นจับกุมเสือใบ กุญแพ กับพวกนำมาประหารชีวิต โดยใช้ตำรวจในพื้นที่เป็นเพชฆาต ใช้อาวุธปืนยาว ยืนยิงต่อหน้าประชาชน ณ บริเวณนั้น

องค์พระใหญ่นี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวท่าเรือมาก ใครผ่านไปมาโดยเฉพาะทางรถไฟจะมากราบไว้เสมอ


ของดี12 กาแฟโกวบู๊

ร้านกาแฟโกวบู๊ เป็นร้านการแฟเก่าแก่ของอำเภอท่าเรือ ภายในร้านจะยังคงรักษาสภาพเดิมๆเอาไว้ เราจะเห็นสิ่งของเครื่องใช้สมัยรุ่นพ่อกะแม่เรายังเด็กๆ ส่วนกาแฟทางร้านก็ยังชงตามแบบฉบับดั้งเดิม หม้อต้นน้ำมีไอร้อนพวยพุ่งมาหลังจากเจ้ ตักน้ำร้อนใส่ถุงกาแฟที่มีการองอีกขั้นหนึ่ง 
เรามาดูบรรยากาศในร้านกันนะคับ






ของดีอย่างที่11วัดหัวหิน

ประวัติวัดหัวหินตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ บ้านหัวหิน หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๙๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๖๘๗๔

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี พระอุโบสถกว้าง ๖ เมตรยาว ๑๘ เมตรสร้าง พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๙๖ หอสวดสวดมนต์สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๙ และยังมีศาล"ศาลพ่อปู่" อยู่ ๑ ศาลเป็นศาลที่ศักดิ์สิทธฺ์ยิ่งนัก ใครบนบานศาลกล่าวอะไร มักจะได้ดังประสงค์

วัดหัวหินสร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒๒ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๑. พระประธานในอุโบสถ วิธีการกราบไหว้ จุดธูปเทียนบูชา ขอพร

๒ .ศาลพ่อปู่ เป็นที่เคารพของชาวบ้านโดยทั่วไป เมื่อขอพรใดๆมักได้ดังประสงค์

วิธีการกราบไหว้ จุดธูปเทียนบูชา ถวายหัวหมู มะพร้าวอ่อน บนและขอพร /รำกลองยาวแก้บน


งานประจำปี งานสรงน้ำพระวันสงกรานต์ งานประเพณีทอดกฐิน


ของดีอย่างที่10 ร้านอาหารกินลูกเดียว

ร้านอาหารนั้นจะตกแต่งไปแนวร้านอาหารโบราณ  เปิดทำการตั้งแต่เวลา11.00ถึงเวลา19.00
เรามาชมบรรยากาศในร้านกันเลยนะคับ











ของดีอย่างที่9 ร้านบะหมี่-เกี๊ยวโบราณเจ๊นัน(จับอิก)

ร้านบะหมี่จับอิกนั้นเป็นร้านบะหมี่เก่าแก่ในท่าเรือ ขายมานานหลายสิบปี ตั้งแต่รุ่นพ่อ จนถึงรุ่นลูก เส้นละหมี่กับเกี๊ยวที่ร้านทำเอง เส้นเหนียว นุ่ม อร่อยมากๆ ตัวเกี๊ยวห่อกันสดๆ แป้งนุ่ม หมูก็นุ่มมาก อร่อยมากๆค่ะ
ร้านนี้ต้องใช้ความอดทนในการรอ ซึ่งเค้าจะทำนานมากเพราะออเดอร์เยอะ บางคนมาไกลจากสระบุรี ลพบุรีเพื่อมาทานกันทีเดียว หลายคนสั่งใส่ถุงกลับบ้านกันหลายถุง ซึ่งแม่ค้าจะเรียงออเดอร์ทีละคน ทำให้ใช้เวลานาน เพราะฉะนั้นต้องใจเย็นๆ อย่าเร่งนะคะ ถ้าใครที่หิวโซมา ต้องไปทานร้านอื่นดีกว่าค่ะ จะได้ไม่เสียอารมณ์


ของดีอย่างที่8 วัดไม้รวก


ประวัติ

โบราณเล่าสืบกันมาว่า ในสมัยหนึ่งเมื่อครั้งเมืองเวียงจันทน์แตกราษฏรได้อพยพครอบครัวร่นถอยมาทางใต้เพื่อหนีภัยแห่งสงคราม มีราษฎรกลุ่มหนึ่ง ได้อพยพครอบครัวมาถึงบริเวณวัดไม้รวก จึงได้พิจารณาดูสถานที่ ที่จะตั้งบ้านเรือนและทำมาหากิน เห็นว่าบริเวณนี้เป็นการเหมาะสมที่จะตั้งบ้านเรือน และมีวัดไม้รวกนี้อยู่ก่อนแล้ว มีศาลาเก่า ๆ อยู่หนึ่งหลัง จึงได้ขนานนามที่ตั้งขึ้นนี้ เรียกว่า บ้านโคกศาลา ในสมัยนั้นบริเวณของวัดมีไม้รวกขึ้นอยู่เป็น จำนวนมาก มีกุฏิให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ประมาณ ๓-๔ หลัง แสดงว่ามีวัดตั้งมาก่อนแล้ว แต่ไม่ปรากฏชื่อวัดว่าอย่างไร ชนกลุ่มนั้นจึงได้พร้อมใจกัน ขนามนามชื่อ วัดไม้รวก สืบต่อกันมาเมื่อประชาชนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเจริญขึ้น จึงช่วยกันพัฒนาในทางพระพุทธศาสนา วัดไม้รวกก็เจริญขึ้นเป็น ลำดับ ๆ มา จนลุถึงท่านเจ้าอาวาส (ชื่อใดไม่ทราบ) เรียกชื่อท่านว่า ท่านปลัด เป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าข้าคณะหมวด ตำบลท่าเรือ และเป็นพระ อุปัชฌาย์ มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาประมาณปีละ ๓๐-๔๐ รูปทุกปี และอุบาสกอุบาสิกาเคารพนับถือเลื่อมใสศรัธาในพระคุณท่านมาก กิจในทางศาสนา ท่านก็ได้ช่วยเหลือในเรื่องราชการทางคณะสงฆ์ ไม่ใช่แต่เพียงเจ้าคณะหมวดเท่านั้น ยังต้องทำหน้าที่ดูแลควบคุมไปถึงพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ด้วย แต่ศาลาการเปรียญในสมัยนั้นคงจะทรุดโทรมลงมาก และไม่มั่นคงถาวรไปได้นานพระเดชพระคุณท่านเจ้าวัดบางจากจังหวัดธนบุรี จึงได้นำเอา ตำหนักสำหรับว่าราชการพระเจ้าอยู่หัว ในรัชการไหนไม่ปรากฏชัด พร้อมด้วยบุษบก ประดับด้วยกระจกและประตูประดับมุก เป็นสมบัติที่วิจิตรสวยงาม อันล้ำค่า นำมาก่อสร้างถวายไว้เป็นศาลาการเปรียญอยู่จนถึงทุกวันนี้ และบุษบกนั้นใช้เป็นธรรมาสน์ (เป็นที่แสดงธรรม) ส่วนประตูที่ประดับด้วยมุกนั้น ทำเป็นประตูพระอุโบสถ แล้วต่อมาก็มีผู้ศรัธาได้ก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้นอีก ๑ องค์ กว้างประมาณ ๑๐ เมตร ส่วนสูงนั้นไม่ทราบชัดเป็นเจดีย์ที่สวยงามมาก องค์หนึ่งในอำเภอท่าเรือ ตามฐานมีซุ้มรอบฐาน มีพระพุทธรูปตามซุ้มทุก ๆ ซุ้ม เมื่อท่านปลัดชราภาพไปตามสังขารแห่งกฏธรรมดา ก็ได้มรณภาพลง

ครั้นต่อมาเจ้าอธิการลอยก็เข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบมา ได้กระทำกิจในทางพระศาสนาให้เจริญสืบมา ส่วนในด้านการศึกษาวัดไม้รวกนี้ ก็มี สอนพระธรรมวินัยแด่ภิกษุสามเณรและเยาวชนสืบต่อมาแต่ท่านมองเห็นกาลไกลต่อไปข้างหน้าว่าการศึกษาเท่านั้นย่อมเป็นแก่นสาร จึงได้ให้ลูกหลาน มาศึกษาวิชาการให้ทันสมัยกับสมัยปัจจุบัน แล้วเริ่มเปิดโรงเรียนเพื่อสอนเยาวชนให้มีความรู้อันทันสมัย เมื่อถึงเวลาสอบไล่ให้ครูนำนักเรียนมาสอบ ณ โรงเรียนสวนกุหลาบจังหวัดพระนคร ส่วนโบราณสถานวัตถุ เช่น พระอุโบสถ วิหาร วิหารคต และกุฏิ ก็เริ่ททรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าอธิการลอย เมื่ออายุพรรษามากขึ้น ท่านถึงมรณภาพไปตามอายุขัย ท่านมรณภาพด้วยโรคลม


ต่อมาพระอธิการเปี่ยม จึงได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นที่เรียบร้อย สำหรับโรงเรียนก็ดำเนินสืบต่อมาด้วยดี แต่ชื่อของวัดได้กลายมาเป็นชื่อ วัดรวกจาก วัดไม้รวกตามที่ชาวบ้านชอบเรียกให้คำสั้นลง เลยกลายเป็นชื่อ วัดรวกมาจนทุกวันนี้ เมื่อพระ อธิการเปี่ยมมรณภาพไปตามอายุขัย ท่านพระครูเนกขัมมวิสุทธิคุณ (ฮวด ฉายา เกสโร) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ สืบต่อมาจนถึงวันมรณภาพ ท่านมีนิสัยรักการศึกษา ภารกิจเบื้องต้นก็คือ สอนหนังสือเด็กภายในวัด ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอมตามแบบโบราณ ครั้นต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ก็เปลี่ยนเป็น โรงเรียน ประชาบาลจึงได้ย้ายไปตั้งที่วัดกลางตำบลเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้รับประราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู เนกขัมมวิสุทธิคุณ รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอท่าเรือ ต่อมาท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลท่าเรืออีกตำแหน่งหนึ่ง

ของดีอย่างที่7 วัดไก่จ้น





ประวัติวัดไก่จ้น

              วัดไก่จ้น  ถิ่นกำเนิดสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี) ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านไก่จ้น  หมู่ที่ ๑๐ ตำบลท่าหลวง  อำเภอท่าเรือ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  วัดตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแควป่าสัก  อาณาเขตทิศเหนือยาว ๑๑๐  เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะและที่ดินของเอกชน ทิศตะวันออกยาว ๑๙๘ เมตร ติดต่อกับชลประทานท่าหลวงและแม่น้ำแควป่าสัก ทิศใต้ยาว ๑๕๐ เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะและที่ดินของเอกชน ทิศตะวันออกยาว ๑๙๘  เมตร  ติดต่อกับชลประทานท่าหลวงและทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว ๑๙๐  เมตร ติดต่อกับที่ดินของเอกชน และแม่น้ำแควป่าสัก  พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำแควป่าสัก

    วัดไก่จ้น  เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ  ไม่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕  เดิมเรียกว่า วัดบ้านไก่จ้น”  มีหลักฐานปรากฏอยู่ในใบพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังเก่า  ความว่า  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ได้รพราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่ วัดบ้านไก่จ้นแควนครน้อย  แขวงกรุงเก่า ซึ่งมีเจ้าอธิการดิสเป็นเจ้าอาวาส  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑


              เมื่อคราวพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕  เสด็จประพาสวัดสะตือ  ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดบ้านไก่จ้น  เจ้าอธิการดิสได้แต่งซุ้มรับเสด็จฯ  ที่หน้าวัดบ้านไก่จ้น  โดยแต่งซุ้มเป็นรูปไก่ประดับไฟตะเกียงพร้อมทั้งเขียนโคลงยอพระเกียรติไว้ ๑ บท  มีผู้จำได้เพียงตอนท้ายว่า ดับร้อนราษฎร์เกษมทรงสนพระราชหฤทัยเจ้าอธิการดิสเจ้าอาวาสวัดบ้านไก่จ้น  ที่เขียนคำโคลงยอพระเกียรติ แต่งซุ้มรับเสด็จฯ  ประกอบทั้งคุณงามความดีของเจ้าอธิการดิสในด้านการศึกษาและการพัฒนาวัดจึงโปรดฯ ให้อาราธนาไปอยู่วัดสุวรรณดาราราม  อำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระราชทานสมณศักดิ์ที่พระสวรรณวิมลศิล เป็น  เจ้าอาวาสวัดสวรรณดาราราม ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๔๔๕  จนถึงมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๖๔


และเมื่อก่อนนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ  วัดไก่จ้น ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑  ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ  ทรงตัดหวายลูกนิมิต  ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ที่เกตพระประธานในอุโบสถ  ทรงตัดหวายลูกนิมิต         ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ที่เกตพระประธานในอุโบสถ  ทรงตัดหวายลูกนิมิต  ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ที่เกตพระประธานในอุโบสถ  และพระประธานจำลองพระประธานอุโบสถ
               
          ทรงพระราชทานของแก่ผู้มีจิตศรัทธาโดยเสด็จพระราชกุศล  ทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าอุโบสถ  ทรงลงพระปรมาภิไธยและนามาภิไธยที่แผ่นศิลา  ทรงพระสุหร่ายพระประธานในอุโบสถ และพระประธานจำลองพระประธานอุโบสถ  ทรงพระราชทานของแก่ผู้มีจิตศรัทธาโดยเสด็จพระราชกุศล    ทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าอุโบสถ ๒ ต้น  ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงวัดไก่จ้น  ๑๐,๐๐๐ บาท และเสด็จฯเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้ารอรับเสด็จฯ

ของดีอย่างที่6 ต้นไม้ดัด

ไม้ดัดเป็นงานศิลปไทยโบราณชนิดหนึ่งที่นิยมเล่นกันมากจนถึงปัจจุบัน โดย
มีการเล่นไม้ดัดไทยตั้งแต่สมัยโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นการเล่นเพื่อศิลปะและ
ความเพลิดเพลิน เป็นกิจกรรมของคนมีเวลาว่าง เป็นศิลปะที่สะสมไว้อวดกันและยัง
ช่วย ผ่อนคลายสำหรับผู้ที่เครียดกับการงาน เมื่อลงมือดัดหรือตกแต่งไม้ดัดจะช่วยให้
สุขภาพจิตดีขึ้นอย่างน่าประหลาด ที่สำคัญที่สุดคือใช้เป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ จัดเป็นสวนหย่อมก็ให้ความโดดเด่นสวยงาม ปัจจุบันมีผู้นิยมหันมาเลี้ยงไม้ดัดไทยเป็น
เชิง พาณิชย์กันมากเพราะเป็นที่นิยมของตลาด
         อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่ากันว่าเป็นแหล่งไม้ดัดไทยจำพวก
ตะโก ข่อย ฯลฯ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ฝีไม้ลายมือในการสร้างสรรค์
ไม้ประดับ เหล่านี้เป็นเยี่ยมไม้แพ้ที่อื่น หรืออาจกล่าวได้ว่าฝีมือนั้นจัดอยู่ในอันดับ
ต้น ๆ ของประเทศเลยทีเดียว เป็นที่รู้จักของผู้รักไม้ดัดไทยเป็นอย่างดี เดิมเป็นแหล่ง
ไม้ตะโกและข่อยมากเป็นที่หนึ่ง ในปัจจุบันต้องนำไม้จากที่อื่นมาทำไม้ดัด บอนไซ
         ไม้ที่จำหน่ายจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ไม้ป่า ซึ่งเป็นไม้ไทยขนาด
ใหญ่ ได้แก่ ไทร ตีนเป็ด หรือต้นสัตบรรณ มะยม มะรุม หว้า มะขามป้อม พิกุล ยาง ปีป อินจัน ฯลฯ






ของดีอย่างที่5 ขนมบ้าบิ่น

ต่อไปนะคับเรามารู้จักของอร่อยขึ้นชื่อของอำเภอท่าเรือกันเลยนะคับ นั้นก่คือขนมบ้าบิ่น
เรามาดูประวัติของเขากันจากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันหลายท่าน ก็ทำให้เราได้ทราบว่า ขนมบ้าบิ่นท่าเรือนั้นมีการผลิตจำหน่ายมานานเกือบร้อยปีทีเดียว เจ้าแรกจริงที่ผลิตจำหน่ายในอำเภอท่าเรือ นั้นคือ ย่าคร้าม ปู่ปลอด ต้นตระกูล เอิบกมลบ้านอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ผลิตขนมบ้าบิ่นที่มีลักษณะคล้ายขนมปิ้ง ขนมของไทยเราดั้งเดิมนี่เอง ซึ่งมีส่วนผสมของมะพร้าว แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย รสชาติที่ออกมาจะหอมหวาน แต่ก็ยังไม่อร่อยเท่ากับขนมบ้าบิ่นในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาปรับปรุงให้รสชาติดีขึ้นมาตลอดต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๔๘๓ แม่เสียน เอิบกมล (ปรีชากุล) ผู้ได้รับมรดกทางฝีมือในการทำขนมบ้าบิ่นจากบรรพบุรุษ ก็ได้มาผลิตอยู่บ้านเลขที่ ๔๑๓/๖ ซอยเทศบาล ๓ ตำบลท่าเรือ แล้วนำไปจำหน่ายบนชานชาลาสถานีรถไฟท่าเรือและได้พยายามปรับปรุงรสชาติให้ดีขึ้นมาตลอด (ปัจจุบันนี้แม่เสียน ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ) แต่มีคุณเกษม จนดา (เอิบกมล) ซึ่งเคยเป็นลูกมือช่วยแม่เสียนทำการผลิตมาหลายสิบปี ก็ยังผลิตขนมบ้าบิ่นจำหน่ายสืบทอดเป็นมรดกอยู่ต่อไป นับได้ว่าขนมบ้าบิ่นแม่เสียน ผลิตมานานกว่า ๕๐ ปี

          ขนมบ้าบิ่นท่าเรือ นั้นผลิตจำหน่ายมานานจนเชื่อได้ในคุณภาพของความอร่อยปัจจุบันมีผลิตกันหลายเจ้า เช่น ขนมบ้าบิ่นแม่เสียน ที่เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและรับพระราชทานโล่ในงานศิลปาชีพ ณ พระราชวังบางปะอินเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ และเจ้าที่ทำการผลิตมีชื่อเสียงควบคู่กันมาก็มีขนมบ้าบิ่นแม่อู๊ด ซึ่งผลิตมานานกว่า ๓๐ ปี และได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในงานศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะหลังก็มีขนมบ้าบิ่นแม่ปลั่ง ศรีพยัคฆ์ ท่าลาน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดขนมบ้าบิ่นในงานของดีอำเภอท่าเรือ ที่จัดโดยสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าเรือ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ นอกจากนี้ยังมีขนมบ้าบิ่นแม่อุษา ตำบลท่าหลวง ขนมบ้าบิ่นแม่ประเทือง ดาวอุดม บ้านปากท่า และภายหลังนี้ยังมีผู้ผลิตจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาหลายราย เช่น ขนมบ้าบิ่นแม่จำปี ตลาดหม่อมเจ้า ขนมบ้าบิ่นแม่ทองสุข (นางทองสุข พึ่งเณร) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดขนมบ้าบิ่นในงาน เทศกาลผักกางมุ้งฟื้นฟูวัฒนธรรม มหกรรมของดีอำเภอท่าเรือเมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ฑ.ศ. ๒๕๔๓ และยังมีขนมบ้าบิ่นมะลิวัลย์ และบ้าบิ่นนางพยอม คงเจริญรส ฯลฯ


ของดีอย่างที่4 ตลาดท่าเรือหรือตลาด100ปี

ต่อไปเรามารู้จักกับตลาด100ปีของอำเภอท่าเรือกันนะคับ  ตลาดท่าเรือนั้นมีอายุประมาน100ปี ซึ้งปัจจุบันตลาดท่าเรือนั้น ผสมบ้านแบบเก่า กะบ้านแบบใหม่แล้ว  แต่ส่วนใหญ่ก่ยังคงเป็นบ้านไม้แบบเก่าอยู่  ด้านหลังของตลาดนั้นจะติดกะแม่น้ำป่าสัก
นี้เป็นรูปร่างของบ้านในตลาดนะคับ

ของดีอย่างที่3สะพานจักรี


สำหรับท่านที่เคยนั่งรถไฟสายเหนือท่านต้องเคยผ่าน สะพานรถไฟที่เก่าแก่ ชื่อ “สะพานจักรี” สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) 118 ตรงกับปีคริสต์ศักราช (ค.ศ) 1899 หรือ พ.ศ. 2442 ตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕